อิเล็คตัส (Eclectus)
นกแก้วอิเล็คตัสเป็นนกแก้วปากขอขนาดกลาง ที่คนไทยนิยมเลี้ยงกันอย่างแพร่หลาย ด้วยความที่นกแก้วอิเล็คตัสมีสีสันสดใส และสามารถแยกเพศได้ด้วยตาเปล่า ซึ่งเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวที่ไม่เหมือนนกปากขอส่วนมากที่ไม่สามารถแยกเพศได้ด้วยตาเปล่า
นกแก้วอิเล็คตัสพบตามหู่เกาะต่างๆในประเทศอินโดนีเซีย และออสเตเรีย นกแก้วอิเล็คตัสมีความยาวเฉลี่ย 35 ซม. โดยเพศผู้บริเวณหัว ช่วงคอ ปีกหลังและลำตัวทั้งหมดจะมีสีเขียว และใต้ปีกมีสีแดง บริเวณหัวปีกมีสีฟ้า เมื่อยังเด็กจะงอยปากจะมีสีดำปนเหลือง แต่เมื่อโตเต็มที่จะงอยปากจะมีสีส้มอมเหลือง เพศเมียส่วนหัวถึงลำตัวทั้งหมดจะมีสีแดงบริเวณช่วงท้องถึงโคนหางจะมีสีม่วงปนน้ำเงิน จะงอยปากสีดำสนิทตั้งแต่เด็กจนโต
นกแก้วอิเล็คตัสเป็นนกที่มีสีสันสดใสทั้งเพศผู้และเพศเมียทำให้เป็นที่สะดุดตาแก่ผู้พบเห็นทั่วไป อีกทั้งยังเป็นนกที่ฉลาดแสนรู้สามารถนำมาฝึกให้เชื่องและทำกิจกรรมต่างๆร่วมกับมนุษย์ได้ และนกแก้วอิเล็คตัสยังได้ชื่อว่าเป็นนกที่พูดเก่งอีกชนิดหนึ่งสามารถพูดเรียนเสียงมนุษย์ได้อย่างชัดเจน ด้วยเหตุนี้จึงได้รับความนิยมอย่างมากจากผู้สนใจมือใหม่ ทั้งในและต่างประเทศ ที่ต้องการหาเพื่อนเล่นมาไว้ในครอบครัว นกแก้วอิเล็คตัสยังสามารถพบเห็นได้ตามสถานที่โชว์นกแสนรู้ รวมถึงโรงแรม และห้างสรรพสินค้าต่างๆมากมาย
อาหารลูกป้อน อาหารลูกป้อนที่ใช้ควรเป็นอาหารที่ดีมีคุณภาพ สะอาด และควรชงอาหารใหม่ๆทุกมื้อ ไม่ควรเก็บอาหารลูกป้อนที่ชงเหลือเก็บไปป้อนในมื้อต่อไป เพราะอาหารที่เหลือนั้นเป็นแหล่งเพาะเชื้อโรคต่างๆได้เป็นอย่างดี และเมื่อเราใช้อาหารนั้นป้อนเข้าไปให้ลูกนกกินก็จะทำให้ลูกนกป่วยได้
อุณหภูมิ อุณหภูมิของอาหารลูกป้อนร้อน หรือเย็นเกินไปจะทำให้กระเพาะพักอาหารไหม้ ทำให้อาหารไม่ย่อยเกิดการตกค้างของอาหารจนเน่าและเกิดเป็นพิษทำให้ลูกนกตายได้ หากรุนแรงมากก็จะทำให้กระเพาะทะลุได้ หากอาหารเย็นเกินไปจะทำให้ท้องอืดย่อยอาหารไม่ได้จนเกิดอาหารตกค้างในกระเพาะ เน่าเสียและตายได้หากไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้อง และอุณหภูมิภายในสถานที่เลี้ยงลูกนกก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่จะช่วยให้ลูกนกเจริญเติบโต หรืออ่อนแอได้เช่นกัน หากมีการกกไฟช่วยให้ความอบอุ่นก็จะเป็นอีกทางหนึ่งในการช่วยหารย่อยอาหารของลูกนกให้ดีขึ้น
ปริมาณอาหาร ปริมาณอาหารที่ป้อนมากเกินไปจนกระเพาะพักตึกแน่นจะทำให้เกิดอาการกระเพาะพักไม่บีบตัวให้อาหารเข้าไปในกระเพาะย่อยอาหาร อาหารก็จะตกค้าง หรือลูกนกอาจมีอาการขย้อนอาหาร (อวกอาหารออกมา) ซึ่งอาการนี้ก็อาจเกิดกับสาเหตุที่อาหารร้อนจนเกินไปด้วย
สภาพแวดล้อมไม่เหมาะสม อากาศบริเวณที่เลี้ยงลูกนกไม่ควรร้อนหรือเย็นเกินไปไม่ควรมีลมโกรก ซึ่งการที่อุณหภูมิอากาศเย็นเกินไปก็จะทำให้กระบวรการย่อยอาหารของลูกนกช้าลง หรือกระบวนการย่อยอย่างไม่เต็มประสิทธิภาพ
ปัญหาที่กล่าวมาข้างต้นเป็นปัญหาที่พบบ่อยๆในการเลี้ยงลูกป้อนอิเล็คตัสรวมถึงลูกนกชนิดอื่นๆ ถ้าหากผู้สนใจได้ศึกษาและได้ทำความเข้าใจกับเหตุและผลที่เกิดขึ้นก็จะเป็นการป้องกันไม่ให้ปัญหาต่างๆเหล่านี้เกิดขึ้น ลูกนกของท่านก็จะมีสุขภาพร่างกายสมบูรณ์แข็งแรงเติบโตเป็นนกเชื่องฉลาดแสนรู้และอยู่เป็นเพื่อนเล่นของทึกคนในครอบครัวต่อไป
ปัญหาที่กล่าวมาข้างต้นเป็นปัญหาที่พบบ่อยๆในการเลี้ยงลูกป้อนอิเล็คตัสรวมถึงลูกนกชนิดอื่นๆ ถ้าหากผู้สนใจได้ศึกษาและได้ทำความเข้าใจกับเหตุและผลที่เกิดขึ้นก็จะเป็นการป้องกันไม่ให้ปัญหาต่างๆเหล่านี้เกิดขึ้น ลูกนกของท่านก็จะมีสุขภาพร่างกายสมบูรณ์แข็งแรงเติบโตเป็นนกเชื่องฉลาดแสนรู้และอยู่เป็นเพื่อนเล่นของทึกคนในครอบครัวต่อไป
การเพาะขยายพันธุ์นกแก้วอิเล็คตัส
นกแก้วอิเล็คตัสเป็นนกขนาดใหญ่ ขนาดของกรงเลี้ยงควรมีขนาด 100x150x150 ซม. เพื่อทำให้นกได้บินออกกำลังกาย รังไข่สามรถใช้เป็นรูปตัวแอล กว้าง 30 ซม. สูง 60 ซม. ลึก 60 ซม. อายุสมบูรณ์พันธุ์ควรมีอายุตั้งแต่ 2 ปีครึ่งขึ้นไป ออกไข่ครั้งละ 2 ฟองใช้เวลาฟักไข่ 24 วัน ขณะฟักไข่พ่อและแม่นกจะดุและหวงรัก หวงไข่อย่างมากผู้เลี้ยงไม่ควนไปเปิดดูรบกวนพ่อแม่นกบ่อยเกินไป เพราะจะทำให้นกเครียด ทำรายไข่ หรือลูกของตัวเองได้ ส่วนในเรื่องของการนำไข่ออกมาฟักเองโดยใช้ตู้ฟัก วิธีนี้เป็นอีกวิธีที่นิยมกันมากสำหรับผู้เลี้ยงมืออาชีพเพราะสามารถทำให้พ่อแม่นกออกไข่ครั้งต่อไปได้เร็วขึ้น โดยไม่ต้องเสียเวลาฟักไข่ พ่อแม่นกบางคู่อาจไขได้ถึง 12 ครั้ง/ปี แต่ก็เป็นอันตรายต่อแม่นกเพราะจะทำให้ร่างกายทรุดโทรมเร็ว
อาหาร
นกแก้วอิเลคตัสสามรถกินอาหารได้หลากหลายไม่ว่าจะเป็นธัญพืชต่างๆ เช่นถั่วแดง ถั่วเขียว ถั่วเหลือง เมล็ดทานตะวัน รวมถึงผักผลไม้ตามฤดูการต่างๆไม่ว่าจะเป็น กล้วย ฝรั่ง ฝักทอง ข้าวโพด ฯลฯ การให้อาหารควรให้หลากหลายเพราะนกในกรงเลี้ยงไม่สามารถหาอาหารกินเองได้เหมือนในธรรมชาติ โดยปกติจะให้อาหารวันละ 2 ครั้งคือช่วงเช้าเป็นผักผลไม้ ช่วงเย็นจะเป็นธัญพืชต่างๆ เรื่องของอาหารเสริมต่างๆก็อาจจะให้พวกวิตามินแคลเซียมเดือนละครั้ง
อ้างอิง : https://tbparrot.wordpress.com/
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น