วันพฤหัสบดีที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2558

นกแก้วริงค์เน็ค

นกแก้วริงค์เน็ค ( Ringnecked )




ริงค์เน็ค ( Ringnecked Parakeet ) นกแก้วคลาสสิก ชื่อวิทยาศาสตร์ Psittacula Krameri เพาะเลี้ยงเกิดสีใหม่ไม่ มีจุดจบ      นกแก้วสายพันธุ์ริงค์เน็ค เป็นที่นิยมในการเพาะเลี้ยงมากที่สุด เนื่องจากมีสีสันมากมายหลาก หลายสี เช่น กรีน, เกรย์กรีน, บลู, บลูซินนามอน, ลูติโน, อัลบิโน, เยลโลเฮดซินนามอน และ ไวท์เฮดบลูซินนามอน ซึ่งเป็นสีที่ฮอตฮิตมาก และยังสามารถเพาะเลี้ยงเพื่อให้เกิดสีใหม่ๆขึ้นอย่างไม่มีจุดจบ ปัจจุบันมีสีมากกว่า 30-40 สี


     สิ่งที่ผู้เลี้ยงนิยมชมชอบอีกจุดหนึ่ง คือ สรีระ รูปทรง สีของขน และมีหางที่ยาวมากกว่าลำตัว เมื่อถึงขนาดโตเต็มที่...ในช่วงเดือน พฤศจิกายน-มกราคม ตัวเมียจะวางไข่พร้อมกับกกอยู่นานประมาณ 23-24 วัน จากนั้นลูกนกก็อาศัยอยู่ในรังถึงอายุ 1 เดือน จึงจะออกมาหากินเองได้ มือใหม่หัดเลี้ยง ควรซื้อขนาดอายุตั้งแต่ 1 เดือนขึ้นไป เพื่อการรอดชีวิต หากต้องการผสมสายพันธุ์ใหม่ๆเลือกที่มีอายุตั้งแต่ 7 เดือนขึ้นไป


     การเตรียมความพร้อมในการเลี้ยงโดย การกำหนดให้กรงมีขนาดเท่าไหร่ก็ได้ แต่ต้องทำรังไม้ มีขนาดความกว้างและยาวประมาณ 30 เซนติเมตรและสูงประมาณ 50 เซนติเมตร เพื่อให้นกมุดตัวเข้าไปนอนได้อย่างมีความสุขเท่านี้ก็เพียงพอแล้ว จึงถือว่าเป็นสัตว์ที่เลี้ยงง่ายตัวหนึ่ง ขนาดความยาว 40 ซ.ม. หรือประมาณ 16 นิ้ว เพศตัวผู้เมื่ออายุ 2 ถึง 3 ปี จะมีเส้นรอบคอเป็นสีดำสลับกับสีชมพูซึ่งจะไม่มีในนกตัวเมีย อายุเฉลี่ยของนกชนิดนี้ประมาณ 15 ปี ถิ่นกำเนิดตอนกลางของทวีปแอฟริกา , อินเดียทั้งทวีปและมาจนถึงทางเหนือของประเทศพม่า



    ซึ่ง ชนิดสุดท้ายนี้เป็นนกแก้วริงเนคที่ได้รับความนิยมมากที่สุด และมีผู้นำไปผสมพันธุ์จนเกิดการเปลี่ยนแปลงของสีได้หลากหลายที่สุด ในบรรดานกแก้วด้วยกัน ซึ่งในธรรมชาตินกชนิดนี้มีสีที่หลากหลายประมาณ 80 ชนิด ของสีและแบบ ซึ่งเราจะพบนกเหล่านี้ได้ตามร้ายขายสัตว์เลี้ยงและฟาร์มนกในที่ต่าง ๆ สีที่เป็นที่นิยมมีอยู่หลายสี เช่น สีเหลือง Jutino , สีขวา Albino, สีฟ้า Blue, สีเทา Grey, ซินนามอน Cinnamon , ครีมิโนCrmino จนถึงกระทั่งการผสมให้นกมีสีที่หัวและตัวเป็นคนละสีกัน เช่น เลสวิง Jacewing , Butter cup , หัวขาวหางขาว , หัวเหลืองหางเหลือง และสีที่กำลังเป็นที่นิยมในหมู่บรรดาผู้เลี้ยงนกชนิดนี้ได้แก่ สีโคบอล์ท Cobalt , ม่วง Violet ซึ่งในอนาคตนกชนิดนี้อาจถูกผสมสีขึ้นมากจนกลายเป็นร้อย ๆ สี และแบบได้โดยไม่ยากนัก














อ้างอิง : http://iam.hunsa.com/lovebird54/article/88820


วันพฤหัสบดีที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2558

อิเล็คตัส

อิเล็คตัส (Eclectus)



            นกแก้วอิเล็คตัสเป็นนกแก้วปากขอขนาดกลาง ที่คนไทยนิยมเลี้ยงกันอย่างแพร่หลาย ด้วยความที่นกแก้วอิเล็คตัสมีสีสันสดใส และสามารถแยกเพศได้ด้วยตาเปล่า ซึ่งเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวที่ไม่เหมือนนกปากขอส่วนมากที่ไม่สามารถแยกเพศได้ด้วยตาเปล่า
นกแก้วอิเล็คตัสพบตามหู่เกาะต่างๆในประเทศอินโดนีเซีย และออสเตเรีย นกแก้วอิเล็คตัสมีความยาวเฉลี่ย 35 ซม. โดยเพศผู้บริเวณหัว ช่วงคอ ปีกหลังและลำตัวทั้งหมดจะมีสีเขียว และใต้ปีกมีสีแดง บริเวณหัวปีกมีสีฟ้า เมื่อยังเด็กจะงอยปากจะมีสีดำปนเหลือง แต่เมื่อโตเต็มที่จะงอยปากจะมีสีส้มอมเหลือง เพศเมียส่วนหัวถึงลำตัวทั้งหมดจะมีสีแดงบริเวณช่วงท้องถึงโคนหางจะมีสีม่วงปนน้ำเงิน จะงอยปากสีดำสนิทตั้งแต่เด็กจนโต
นกแก้วอิเล็คตัสเป็นนกที่มีสีสันสดใสทั้งเพศผู้และเพศเมียทำให้เป็นที่สะดุดตาแก่ผู้พบเห็นทั่วไป อีกทั้งยังเป็นนกที่ฉลาดแสนรู้สามารถนำมาฝึกให้เชื่องและทำกิจกรรมต่างๆร่วมกับมนุษย์ได้ และนกแก้วอิเล็คตัสยังได้ชื่อว่าเป็นนกที่พูดเก่งอีกชนิดหนึ่งสามารถพูดเรียนเสียงมนุษย์ได้อย่างชัดเจน ด้วยเหตุนี้จึงได้รับความนิยมอย่างมากจากผู้สนใจมือใหม่ ทั้งในและต่างประเทศ ที่ต้องการหาเพื่อนเล่นมาไว้ในครอบครัว นกแก้วอิเล็คตัสยังสามารถพบเห็นได้ตามสถานที่โชว์นกแสนรู้ รวมถึงโรงแรม และห้างสรรพสินค้าต่างๆมากมาย
อาหารลูกป้อน      อาหารลูกป้อนที่ใช้ควรเป็นอาหารที่ดีมีคุณภาพ สะอาด และควรชงอาหารใหม่ๆทุกมื้อ ไม่ควรเก็บอาหารลูกป้อนที่ชงเหลือเก็บไปป้อนในมื้อต่อไป เพราะอาหารที่เหลือนั้นเป็นแหล่งเพาะเชื้อโรคต่างๆได้เป็นอย่างดี และเมื่อเราใช้อาหารนั้นป้อนเข้าไปให้ลูกนกกินก็จะทำให้ลูกนกป่วยได้

อุณหภูมิ                 อุณหภูมิของอาหารลูกป้อนร้อน หรือเย็นเกินไปจะทำให้กระเพาะพักอาหารไหม้ ทำให้อาหารไม่ย่อยเกิดการตกค้างของอาหารจนเน่าและเกิดเป็นพิษทำให้ลูกนกตายได้ หากรุนแรงมากก็จะทำให้กระเพาะทะลุได้ หากอาหารเย็นเกินไปจะทำให้ท้องอืดย่อยอาหารไม่ได้จนเกิดอาหารตกค้างในกระเพาะ เน่าเสียและตายได้หากไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้อง และอุณหภูมิภายในสถานที่เลี้ยงลูกนกก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่จะช่วยให้ลูกนกเจริญเติบโต หรืออ่อนแอได้เช่นกัน หากมีการกกไฟช่วยให้ความอบอุ่นก็จะเป็นอีกทางหนึ่งในการช่วยหารย่อยอาหารของลูกนกให้ดีขึ้น
ปริมาณอาหาร      ปริมาณอาหารที่ป้อนมากเกินไปจนกระเพาะพักตึกแน่นจะทำให้เกิดอาการกระเพาะพักไม่บีบตัวให้อาหารเข้าไปในกระเพาะย่อยอาหาร อาหารก็จะตกค้าง หรือลูกนกอาจมีอาการขย้อนอาหาร (อวกอาหารออกมา) ซึ่งอาการนี้ก็อาจเกิดกับสาเหตุที่อาหารร้อนจนเกินไปด้วย

สภาพแวดล้อมไม่เหมาะสม อากาศบริเวณที่เลี้ยงลูกนกไม่ควรร้อนหรือเย็นเกินไปไม่ควรมีลมโกรก ซึ่งการที่อุณหภูมิอากาศเย็นเกินไปก็จะทำให้กระบวรการย่อยอาหารของลูกนกช้าลง หรือกระบวนการย่อยอย่างไม่เต็มประสิทธิภาพ
ปัญหาที่กล่าวมาข้างต้นเป็นปัญหาที่พบบ่อยๆในการเลี้ยงลูกป้อนอิเล็คตัสรวมถึงลูกนกชนิดอื่นๆ ถ้าหากผู้สนใจได้ศึกษาและได้ทำความเข้าใจกับเหตุและผลที่เกิดขึ้นก็จะเป็นการป้องกันไม่ให้ปัญหาต่างๆเหล่านี้เกิดขึ้น ลูกนกของท่านก็จะมีสุขภาพร่างกายสมบูรณ์แข็งแรงเติบโตเป็นนกเชื่องฉลาดแสนรู้และอยู่เป็นเพื่อนเล่นของทึกคนในครอบครัวต่อไป
การเพาะขยายพันธุ์นกแก้วอิเล็คตัส
นกแก้วอิเล็คตัสเป็นนกขนาดใหญ่ ขนาดของกรงเลี้ยงควรมีขนาด 100x150x150 ซม. เพื่อทำให้นกได้บินออกกำลังกาย รังไข่สามรถใช้เป็นรูปตัวแอล กว้าง 30 ซม. สูง 60 ซม. ลึก 60 ซม. อายุสมบูรณ์พันธุ์ควรมีอายุตั้งแต่ 2 ปีครึ่งขึ้นไป ออกไข่ครั้งละ 2 ฟองใช้เวลาฟักไข่ 24 วัน ขณะฟักไข่พ่อและแม่นกจะดุและหวงรัก หวงไข่อย่างมากผู้เลี้ยงไม่ควนไปเปิดดูรบกวนพ่อแม่นกบ่อยเกินไป เพราะจะทำให้นกเครียด ทำรายไข่ หรือลูกของตัวเองได้ ส่วนในเรื่องของการนำไข่ออกมาฟักเองโดยใช้ตู้ฟัก วิธีนี้เป็นอีกวิธีที่นิยมกันมากสำหรับผู้เลี้ยงมืออาชีพเพราะสามารถทำให้พ่อแม่นกออกไข่ครั้งต่อไปได้เร็วขึ้น โดยไม่ต้องเสียเวลาฟักไข่ พ่อแม่นกบางคู่อาจไขได้ถึง 12 ครั้ง/ปี แต่ก็เป็นอันตรายต่อแม่นกเพราะจะทำให้ร่างกายทรุดโทรมเร็ว

อาหาร
นกแก้วอิเลคตัสสามรถกินอาหารได้หลากหลายไม่ว่าจะเป็นธัญพืชต่างๆ เช่นถั่วแดง ถั่วเขียว ถั่วเหลือง เมล็ดทานตะวัน รวมถึงผักผลไม้ตามฤดูการต่างๆไม่ว่าจะเป็น กล้วย ฝรั่ง ฝักทอง ข้าวโพด ฯลฯ การให้อาหารควรให้หลากหลายเพราะนกในกรงเลี้ยงไม่สามารถหาอาหารกินเองได้เหมือนในธรรมชาติ โดยปกติจะให้อาหารวันละ 2 ครั้งคือช่วงเช้าเป็นผักผลไม้ ช่วงเย็นจะเป็นธัญพืชต่างๆ เรื่องของอาหารเสริมต่างๆก็อาจจะให้พวกวิตามินแคลเซียมเดือนละครั้ง










อ้างอิง : https://tbparrot.wordpress.com/

วันพฤหัสบดีที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2558

นกคอนัวร์

นกคอนัวร์ 



        นกคอนัวร์ (Conure) เป็นหนึ่งในสายพันธุ์ของ นกแก้ว ที่มีถิ่นกำเนิดอยู่แถบละตินอเมริกา จากเม็กซิโกลงมาถึงหมู่เกาะคาริบเบียนและชิลีใต้ นกคอนัวร์ พันธุ์ที่ใหญ่ที่สุดคือ พาทาโกเนี่ยน มีความยาวประมาณ 17.5 นิ้ว และ นกคอนัวร์ พันธุ์ที่เล็กที่สุดคือ เพ้นท์เท็ต มีความยาวประมาณ 8.5 นิ้ว โดย นกคอนัวร์ เป็นนกที่รักความสงบและอยู่กันเป็นฝูงใหญ่

         ทั้งนี้ คำว่า conure (คอนัวร์) มาจากคำว่า Conurus (คอนูรัส) นกคอนัวร์ มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Aratinga (อาราทิงก้า) นกคอนัวร์ แบ่งเป็น 2 กลุ่มใหญ่ ๆ ตามชื่อทางวิทยาศาสตร์คือ Aratinga และ Pyrrhura 
 Aratinga จะมีสีสันสดใส เช่น สีเขียว สีแดง ที่ดูมีชีวิตชีวา ได้แก่ สายพันธุ์ ซันคอนัวร์(Sun conure) บลูคราวน์(Blue-crowned conure) เจนเดย์(Jenday conure)
 Pyrrhura จะมีสีสันที่เข้มขึ้น เช่น สีเขียวแก่ น้ำตาลเข้ม และ Aratinga จะไม่มีสีอ่อน ๆ ที่ขึ้นอยู่ตามอกหรือคอ และแก้มอย่าง Pyrrhura ได้แก่ สายพันธุ์ แบล็คแค็พ (Black-capped conure) เพ้นท์เท็ด (Painted conure) 


        



           นิสัยเรียกร้องความสนใจ เมื่อ นกคอนัวร์ รู้สึกว่าตัวเองเป็นส่วนหนึ่งของครอบครัวแล้วในตอนเช้าเมื่อคุณตื่นแล้วคุณอาจได้ยินเสียงพองขน เล่นของเล่น หรือเสียงบ่นเบาๆ มาจากกรงของเจ้าคอนัวร์

           การอาบน้ำ นกคอนัวร์ รักการอาบน้ำเป็นชีวิตจิตใจ เราควรอาบให้นกตอนเช้าด้วยน้ำอุ่น เพื่อให้ขนแห้งได้ทันเวลาที่นกจะเข้านอน

           การขบฟัน นกคอนัวร์ จะขบฟันช่วงที่มันใกล้จะหลับ การขบฟันในนกถือเป็นเรื่องธรรมชาติของนก

           การเช็ดปาก หลังมื้ออาหารทุกมื้อ นกคอนัวร์ จะเช็ดปากของมันกับคอนที่มันเกาะ หรือแขนเสื้อของคุณขณะที่มันเกาะอยู่

           กายกรรมแบบนก ๆ กิริยาที่ นกคอนัวร์ ทำคล้ายกับการบิดขี้เกียจ ยืดแข้งยืดขา ซึ่งถือเป็นปกติธรรมดาของนก



การกัด เป็นการแสดงสัญชาตญาณการอยู่ร่วมกันของ นกคอนัวร์ ที่อาศัยอยู่ในป่า การกัดของมันตามลำพังแสดงว่ามันกำลังทดสอบสิ่งรอบ ๆ ตัวของมันอยู่

         
  การนอนกลางวัน การนอนกลางวันเป็นการงีบหลับ นกคอนัวร์ จะงีบหลับไปบ้าง ถ้าไม่มีการเปลี่ยนแปลงส่อไปทางเจ็บป่วย ก็ไม่ต้องกังวลกับการงีบหลับของนก

         
  การเคี้ยว นกคอนัวร์ ชอบที่จะขบเคี้ยว กัดแทะ สิ่งต่างๆรอบตัวเสมอ ซึ่งผู้เลี้ยงต้องมีของเล่นให้นกได้เคี้ยวตลอดเวลา




         
  การจ้องมองของนก เมื่อ นกคอนัวร์ เห็นอะไรที่ทำให้เกิดความตื่นเต้นหรือสนใจ รูม่านตาของมันจะเบิกกว้างและหดตัวขึ้นและลง

         
  การพองขน เป็นการคลายความตึงเครียดของ นกคอนัวร์ แต่ถ้ามันพองขนตลอดเวลานั้นอาจเป็นสัญญาณเตือนได้ว่านกกำลังเจ็บป่วย


        การไซร้ขนให้กันและกัน เป็นนิสัยของ นกคอนัวร์ ที่จะทำให้คู่ของมันหรือเพื่อนนกที่สนิทกันเท่านั้น

         การจับคู่ นกจะจับคู่กันไม่ว่าจะเป็นเพศเดียวกันหรือไม่ มันจะไซร้ขนให้กัน เลียนแบบท่าทางของคู่มันตลอดเวลา


           ความรู้สึกเป็นเจ้าของ จะแสดงออกถึงการหวงเจ้าของมัน มันมักจะกัด และ ขู่ตัวอื่น

           การไซร้ขน เป็นกิจวัตรประจำของมันซึ่งจะทำร่วมกับการพองขน และมีการจิกขนตัวเองในช่วงนี้สำหรับฤดูผลัดขน

           การสำรอกอาหาร กิริยาของนกที่จ้องบางอย่างแล้วขณะเดียวกันก็ผงกหัวด้วย นั้นคือมันจะสำรอกอาหารให้กับคู่หรือลูกของมัน ซึ่งเป็นการแสดงออกถึงความรักอันยิ่งใหญ่

           การยืนพักขาเดียว การที่นกยืนขาเดียวถือเป็นเรื่องธรรมชาติ แต่ถ้าคุณเห็นนกยืน 2 ขา ตลอดเวลา คุณควรจะนำนกไปหาสัตวแพทย์เพราะอาการดังกล่าวเป็นสัญญาณของสุขภาพที่ไม่แข็งแรง



            การกรีดร้อง นกคอนัวร์ จัดว่าเป็นนกที่มีเสียงดัง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อนกรู้สึกว่ามันถูกทอดทิ้งและเจ้าของไม่มีเวลาให้นกจะยิ่งส่งเสียงร้อง บางครั้ง นกคอนัวร์ ก็ถือเป็นนกขี้เหงาและต้องการให้เจ้าของให้ความมั่นใจกับมันว่ามันไม่ได้อยู่ตัวเดียว นกคอนัวร์จะร้องส่งเสียงเพื่อที่จะดูว่าคนในบ้านไปไหนกันหมดทิ้งมันไว้ตัวเดียวหรือเปล่า เจ้าของสามารถให้ความมั่นใจกับนกได้โดยการขานรับ บางขณะนกจะร้องเมื่อมีบางสิ่งบางอย่างในสภาพแวดล้อมทำให้มันตกใจกลัว ในกรณีนี้คุณจำเป็นต้องใช้เวลากับนกและลดความกลัวในตัวนกลง นกจะส่งเสียงกรีดร้องตามสัญชาติญาณเพื่อปกป้องฝูงของมันด้วย เมื่อนกรู้สึกเหนื่อยจะมีอาการหงุดหงิด และบางครั้งจะส่งเสียงร้องกรณีนี้เราควรจะคลุมกรงของมัน เพื่อให้มันสงบลงและปรับตัวเพื่อจะเข้านอนเร็วขึ้น

           การนอน นกคอนัวร์ มักจะชอบมุดไปขดตัวนอนอยู่ใต้ผ้าหรือเศษไม้ที่เราใส่ไว้ในกล่องนอน และบางครั้งมันก็จะนอนหงายหลับไปในถ้วยอาหาร เพื่อให้นกได้พักผ่อนอย่างสบาย ควรหาเศษผ้าหรือตุ๊กตานุ่ม ๆ มาใส่ไว้ให้นก การนอนหงายในลักษณะเท้าชี้ฟ้าถือเป็นเรื่องธรรมชาติสำหรับคอนัวร์และก็เป็นท่าที่แสนสบายสำหรับมันด้วย

           การจาม การจามในนกมาจากสองสาเหตุ สาเหตุแรกคือ การจามเพื่อให้จมูกโล่ง บางครั้งมันยังจะใช้นิ้วใส่เข้าไปในรูจมูก เพื่อให้เกิดอาการระคายเคืองและจามออกมา จามแบบที่สอง เนื่องมาจากนกเป็นหวัดในกรณีนี้การจามในแต่ละครั้งจะมีน้ำมูกและทำให้รูจมูกเปียก ถ้านกเป็นในกรณีที่สองนี้ควรนำนกเข้าพบสัตวแพทย์ทันที 

           ความเครียด ความเครียดนกจะมีอาการตัวสั่น ท้องร่วงหายใจเร็วสั่นหางและปีก จิกขนตัวเอง นอนไม่หลับ และไม่เจริญอาหาร นกในตระกูลนกปากขอชอบที่จะมีกิจวัตรประจำวันและไม่ชอบการเปลื่ยนแปลง ไม่ว่าจะเป็นการเปลื่ยนแปลงในบรรยากาศรอบตัวหรือตารางเวลาของการใช้ชีวิตประจำวัน แต่ถ้ามีความจำเป็นต้องเปลื่ยนแปลงบางสิ่งบางอย่างควรจะพูดกับนกของคุณก่อนอาจจะฟังดูเหมือนบ้าแต่การกระทำดังกล่าวจะช่วยให้นกไม่เกิดความเครียดจนเกินไป



            การลิ้มลองของ นกคอนัวร์ จะสำรวจสิ่งรอบๆ ตัวด้วยปากมากพอ ๆ กับที่เราใช้มือ และไม่ต้องแปลกใจถ้านกของคุณจะใช้ปากและลิ้นกัดดูที่มือของคุณก่อนที่จะปีนขึ้นมาเกาะในครั้งแรก นกไม่ได้ตั้งใจที่จะกัดคุณแต่มันกำลังสำรวจ

           การใช้เสียง นกในตระกูลนกปากขอ โดยส่วนใหญ่จะส่งเสียงร้องช่วงพระอาทิตย์ขึ้นและตกของทุก ๆ วัน

           การหาว ผู้เชี่ยวชาญบางคนอาจเชื่อว่านกขาดออกซิเจนในขณะที่ผู้เชี่ยวชาญอีกคนกล่าวว่านกแค่หาวและบิดขี้เกียจ บริหารกล้ามเนื้อเท่านั้น ในกรณีที่คุณไม่เห็นว่านกมีท่าทางไม่สบาย (อาเจียน สำรอกอาหาร) คุณก็คงไม่ต้องเป็นห่วงจนเกินไป

















อ้างอิง : http://pet.kapook.com/view4314.html



วันพฤหัสบดีที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2558

ค๊อกคาเทล


ค๊อกคาเทล


นกค๊อกคาเทล (อังกฤษcockatielชื่อวิทยาศาสตร์Nymphicus hollandicusนกปากขอขนาดเล็กชนิดหนึ่ง อยู่ในวงศ์นกกระตั้ว (Cacatuidae) จัดเป็นเพียงชนิดเดียวที่อยู่ในสกุล Nymphicus  และนับเป็นชนิดที่เล็กที่สุดในวงศ์นี้
มีขนาดลำตัวยาวประมาณ 25 เซนติเมตร ตัวผู้มีลำตัวเป็นสีเทา ๆ ปีกจะเป็นแถบสีขาว หัวเป็นสีเหลืองอ่อน มีหงอนยาวสูงขึ้นมาที่แก้ม มีหย่อมสีส้มเด่นชัดปากเป็นสีเทา ตัวเมียมีลักษณะคล้ายกับตัวผู้ แต่หัวจะเป็นสีเหลืองอมเทา สีส้มที่แก้มไม่เด่นชัดนัก และหางจะเป็นสีเหลืองมีลายขีดสีเทาขวางอยู่
มีถิ่นกระจายพันธุ์อยู่ในประเทศออสเตรเลีย มักอาศัยอยู่ตามทุ่งโล่งใกล้ ๆ กับแหล่งน้ำที่อยู่ลึกเข้าไปในแผ่นดิน ห่างจากชายฝั่งทะเล มักจะอยู่ร่วมกันเป็นกลุ่มเล็ก ๆ หรือเป็นคู่ ๆ ขณะบินจะเกิดเสียงจนสามารถได้ยิน กินอาหารได้แก่ เมล็ดหญ้า เมล็ดพืชล้มลุก ผลไม้ และลูกไม้ขนาดเล็ก
นกคอกคาทีล ก็เหมือนนกปากขอหรือนกกระตั้วชนิดอื่นทั่วไป ที่นิยมเลี้ยงเป็นสัตว์เลี้ยง ปัจจุบันมีการเพาะขยายพันธุ์ จนได้สายพันธุ์ที่มีสีสันและลวดลายสวยงามกว่านกที่มีอยู่ในธรรมชาติแท้ ๆ 



         นกคอคคาเทล โดยปกติ จะเริ่มเพาะพันธ์กันเมื่ออายุ 1 ปีขึ้นไป โดยสามารถเริ่มจับเข้าคู่ก่อนได้ อาจจะสัก 8 - 9 เดือน รอเวลาสักนิด 1 ปีแขวนรัง อายุนกก็จะมากพอสมควร แต่แนะนำว่าให้รอจนนกผลัดขนเรียบร้อยก่อนเข้าเพาะ เพื่อความสมบูรณ์ของตัวพ่อแม่นกและลูกนกที่จะตามมา
การวางไข่ โดยเฉลี่ย 4 - 6 ฟอง แต่อาจจะมากกว่านี้ได้ ตามความพร้อมของแม่นก ระยะการฟักตัวของไข่ 18 วัน แต่ฟองแรกถ้าแม่นก กกไข่ดีๆ อาจจะออกมาวันที่ 17 นับตั้งแต่แม่นก กกไข่ฟองแรก
** ก่อนการเข้าเพาะพันธ์ หรือช่วงเข้าคู่นก สามารถให้วิตามิน แคลเซียม เพื่อเตรียมความพร้อมได้เลย
หลายคนอาจจะสงสัย พอเริ่มจับคู่ แทนที่ ตัวเมียจะเข้ารัง แต่เป็นตัวผู้เข้ารังแทน ทั้งเคาะรัง คุ้ยขี้เลื่อย ไล่กัดตัวเมีย ทั้งๆที่ก่อนหน้านี้รักกันดี นี่คือ ตัวผู้พร้อมจะเพาะพันธุ์แล้ว หากตัวเมียพร้อมก็อาจจะผสมพันธุ์แล้วเข้าไปวางไข่เลย หรือ ไม่พร้อม ตัวผู้ก็อาจจะ ไล่เพื่อให้เข้ารังได้



       ช่วงเวลาฟักไข่ นกจะกินข้าวน้อยกว่าปกติจนเห็นได้ชัดเลย แนะนำว่าใส่วิตามินผสมน้ำให้ด้วยนะ
หลังจาก 18 วันผ่านไป หากลูกนกเกิด ประมาณ 1 วัน เราก็จะได้ยินเสียง "จิ๊กๆๆ" เบาๆจากในรังแล้ว ตอนนี้พ่อแม่นกจะขยันกินมากๆๆเลย ใส่อาหารให้ตามปกติได้เลย และเพิ่มอาหารให้มากขึ้นวันละหน่อยตามตัวและปริมาณลูกนกในรัง
โดยปกติ เมื่อลูกนกอายุ 7 วันก็จะเริ่มลืมตา จน 14 วันเริ่มมีขนหนามๆแทงขึ้นมา ส่วน 20 วัน ขนหนามทั้งตัวจะเริ่มยาว และปลายขนปีกบินจะเริ่มแตกเป็นใบพายค่ะ ช่วงนี้ถ้าอยากได้ลูกนกเชื่องๆ สามารถแยกพ่อแม่มาป้อนเองได้ ค่อนข้างจะปลอดภัยแล้ว


          แต่หากต้องการให้พ่อแม่ป้อนจนโต ก็สามารถแยกลูกนกได้เมื่ออายุลูกนกประมาณ 2 เดือนค่ะ โดยก่อนแยกลูกนกออกจากพ่อแม่ เราต้องรู้ว่าลูกนกสามารถกินอาหารได้เองแล้วจริงๆ
ความถี่ในการเพาะพันธุ์ นกคอคคาเทลสามารถออกไข่ได้ตลอดทั้งปี ออกได้เรื่อยๆ ตามความสมบูรณ์ของพ่อแม่นกค่ะ ถ้าพ่อแม่นกเลี้ยงลูกเองจนลงรัง (ป้อนจนลูกนกกินอาหารเองเป็น) ก็เพาะได้ประมาณ 3 คอก ต่อปี หรือถ้าเอาลูกนกมาป้อนเองก็อาจจะได้ถึง 4 คอกต่อปี แต่อย่าลืมบำรุงพ่อแม่นกด้วยนะคะ เพราะถ้าให้ออกไข่เลี้ยงลูกจนขาดความสมบูรณ์ไป พ่อแม่นกก็อาจจะหยุดไข่ไปอีกนาน หรืออาจจะเกิดอาการ ไข่ติดท้อง และอาจจะตายได้















อ้างอิง : http://www.birdslover.com/knowledge/detail.php?NewsID=25
                     http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%99%E0%B8%81%E0%B8%84%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B8%84%E0%B8%B2%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B8%A5


นกหงส์หยก

นกหงส์หยก


นกหงส์หยก (อังกฤษ: Budgerigar; ชื่อวิทยาศาสตร์: Melopsittacus undulatus) เป็นนกปากขอขนาดเล็กชนิดหนึ่ง ที่มีลวดลายและสีสันที่สวยงาม ถิ่นกำเนิดดั้งเดิมของนกหงส์หยกอยู่ตามแถบทุ่งหญ้าในประเทศออสเตรเลีย มีชื่อเรียกเล่น ๆ ว่า "บั๊ดจี้" (Budgie) หรือ "พาราคีท" (Parakeet) ครั้งหนึ่ง ผู้คนทั่วไปเคยเข้าใจว่านกหงส์หยกเป็นนกที่อยู่ในจำพวกนกเลิฟเบิร์ด แต่ในปัจจุบันได้ยอมรับกันแล้วว่าเป็นนกคนละจำพวกกัน โดยผู้ที่ทำการอนุกรมวิธาน คือ นักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษ จอห์น กูลด์ ที่เข้าไปศึกษาธรรมชาติวิทยาที่ออสเตรเลียเมื่อกว่า 100 ปีมาแล้ว  โดยถือเป็นนกเพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่อยู่ในสกุลMelopsittacus
โดยทั่วไปแล้วสีตามธรรมชาติ นกหงส์หยกมักมีขนสีเขียว, ฟ้า, เหลือง และขาว แต่ปัจจุบันได้มีการพัฒนาสายพันธุ์ให้มีความหลากหลายออกไปจากสีดั้งเดิมตามธรรมชาติในฐานะของการเป็นสัตว์เลี้ยง โดยมีชื่อเรียกต่าง ๆ กันตามลักษณะ อาทิ "โอแพล์ลิน", "อัลบิโนส์" และ"ลูติโนส์


ปัจจุบัน นกหงส์หยกเป็นนกที่ได้รับความนิยมอย่างมากในฐานะเป็นสัตว์เลี้ยง จัดเป็นนกที่เลี้ยงง่ายเพาะขยายพันธุ์ได้ง่าย มีราคาถูก ซึ่งปัจจุบันได้มีการพัฒนาสายพันธุ์ต่าง ๆ จนมีสีสันและลวดลายต่าง ๆ สวยงามกว่าในธรรมชาติ โดยพฤติกรรมตามธรรมชาติ นกหงส์หยกจะอยู่รวมกันเป็นฝูง ดังนั้นถ้าเลี้ยงรวมในกรงใหญ่ นกจะมีปฏิสัมพันธ์กันเอง แต่ถ้าเลี้ยงเพียงตัวเดียวหรือคู่เดียว ก็ควรมีของเล่นต่าง ๆ ให้ หรือกระจกสำหรับส่องเพื่อที่นกจะเข้าใจว่ามีตัวอื่นอยู่ร่วมด้วย และใช้สำหรับส่องเพื่อไซ้แต่งขน อาหารหลักของนกหงส์หยก คือ ข้าวฟ่าง, ผักใบเขียวชนิดต่าง ๆ และอาจให้แร่ธาตุเสริม คือ แคลเซียม จากลิ้นทะเลหรือกระดองปลาหมึกด้วย
สถานที่เลี้ยงควรเป็นที่โปร่ง อากาศถ่ายเทได้ดี ผู้เลี้ยงควรที่จะฉีดสเปรย์น้ำเพื่อที่จะทำความสะอาดนกด้วย การจำแนกเพศของนกหงส์หยก สังเกตได้ที่จมูก ในนกตัวผู้เมื่อเจริญเต็มที่หรือพร้อมที่จะผสมพันธุ์ จะเป็นสีฟ้าเข้ม และในนกตัวเมียนั้นจมูกของนกเมื่อเจริญเต็มที่หรือพร้อมที่จะผสมพันธุ์ จมูกของนกจะมีสีออกเป็นสีเนื้อหรือสีน้ำตาลเข้ม สีดังกล่าวจะเข้มขึ้นเรื่อย ๆ เมื่ออยู่ในฤดูผสมพันธุ์ นกหงส์หยกจะจับคู่เมื่อมันพร้อมที่จะผสมพันธุ์ โดยสังเกตได้จากนกจะอยู่กันเป็นคู่ ไซ้ขนให้กัน และคอยป้อนอาหารให้กันโดยเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์เมื่ออายุได้ราว 11 เดือน หรือ 1 ปี วางไข่ครั้งละ 4-8 ฟอง ระยะฟักตัวประมาณ 18-20 วัน ลูกนกจะโผล่พ้นรังเมื่ออายุได้ 4-5 สัปดาห์


   นกหงส์หยกเป็นนกเร่ร่อนพบในที่อยู่อาศัยแบบเปิด ส่วนใหญ่ในทุ่งไม้พุ่ม บริเวณที่เป็นป่าเปิด และทุ่งหญ้าของออสเตรเลีย นกที่พบตามปกติจะอยู่ในฝูงขนาดเล็ก แต่สามารถอยู่ร่วมกันในฝูงที่ใหญ่มากในกรณีที่ถิ่นที่อยู่ดีมาก    จำนวนตั้งแต่หลักหมื่นถึงล้านตัว จึงเป็นนกที่มีการเร่ร่อนมาก และการเคลื่อนย้ายจะเป็นไปตามความอุดมสมบูรณ์ของแหล่งอาหารและน้ำ เป็นนกที่ใช้เวลาส่วนใหญ่หมดไปกับการเกี้ยวพาราสีและแลกเปลี่ยนกันถึงสถานที่ ๆ มี     แหล่งอาหาร โดยขณะที่รวมตัวกันจำนวนมากนั้น อาจถูกนกนักเหยื่อ เช่น เหยี่ยว ล่าเป็นอาหารได้ แต่นกหงส์หยกก็มีวิธีการบินหลบเลี่ยงที่ดี และสามารถบินลงไปดื่มน้ำได้ขณะที่บินหนีได้อีกด้วย ด้วยการทิ้งตัวดิ่งลงมาคล้ายก้อนหิน














อ้างอิง : http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%99%E0%B8%81%E0%B8%AB%E0%B8%87%E0%B8%AA%E0%B9%8C%E0%B8%AB%E0%B8%A2%E0%B8%81

วันพฤหัสบดีที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2558

นกแขกเต้า

นกแขกเต้า


        นกแขกเต้า (อังกฤษRed-breasted parakeet) เป็นนกแก้วชนิดหนึ่ง ถือว่าเป็นนกประจำถิ่นที่พบได้ทุกภาคของประเทศไทยยกเว้นเฉพาะภาคใต้เท่านั้นที่ไม่พบ

ลักษณะ

นกชนิดนี้มีลำตัวขนาด 35 เซนติเมตร หัวใหญ่ คอสั้น หางยาวแหลม ขนปกคลุมลำตัวสีสันสดใสตัวผู้ลำตัวด้านบนสีเขียว ลำตัวด้านล่างมีสีเขียวอ่อนอมฟ้า บริเวณอกสีชมพูแก้มส้ม หัวสีม่วงแกมเทาหน้าผากมีแถบสีดำคาดไปจรดตาทั้งสองข้าง และมีแถบสีดำลากจากโคนปากไปถึงแก้ม จะงอยปากบนสีแดงสด จะงอยปากล่างสีดำ ส่วนตัวเมียต่างจากตัวผู้ตรงที่หัวเป็นสีน้ำเงินแกมเทาจะงอยปากบนสีดำสนิท

การกระจายพันธุ์และถิ่นอาศัย

นกแขกเต้าพบได้ในประเทศอินเดีย พม่า ไทย ลาว กัมพูชา และ เวียดนาม ในประเทศไทยพบได้ทั่วไปทุกภาค ยกเว้นภาคใต้ที่พบน้อยมากอาศัยอยู่ในป่าโปร่ง ตั้งแต่พื้นราบไปจนถึงระดับความสูง 1,200 เมตรจากระดับน้ำทะเล

พฤติกรรม

อาหารของนกแขกเต้าได้แก่ เมล็ดพืช ลูกไม้ป่า ผลไม้ ยอดไม้ และ น้ำต้อย ชอบอยู่รวมกันเป็นฝูงใหญ่ หากินอยู่บนต้นไม้ นกแขกเต้าวางไข่ครั้งละ 3-4 ฟอง มีระยะฟักไข่นาน 28 วัน