วันจันทร์ที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2558

นกแก้วโม่ง



นกแก้วโม่ง







นกแก้วโม่ง (Alexandrine Parakeet)
ชื่อทางวิทยาศาสตร์: Psittacula eupatria
วงศ์ : Psittacidae
อันดับ : Psittaciforme

           เป็นนกตระกูลนกแก้วขนาดเล็ก - กลาง แต่เป็นนกแก้วขนาดใหญ่ที่สุดในเมืองไทย
ชื่อสามัญคือ Alexandrine Parakeet โดยชื่อนี้ เป็นการตั้งชื่อเพื่อเป็นเกียรติแด่ กษัตริย์อเล็กซาน
เดอร์มหาราช เมื่อครั้งยาตราทัพเข้ามาสู่ในทวีปเอเชีย โดยได้นำนกแก้วสายพันธุ์นี้กลับไปยัง
ทวีปยุโรป มีชื่ออื่นๆอีกคือ Greater Rose-ringed Parakeet , Great-billed Parakeet ,
Large Parakeet, Rose-ringed Parakeet


ลักษณะทั่วไป
          แก้วโม่งมีความยาววัดจากหัวถึงปลายหางได้ราว ๕๑ – ๕๘ เซนติเมตร หัวและลำตัวมี
สีเขียว จงอยปากอวบอูม มีลักษณะงุ้มลงมามีขนาดใหญ่สีแดงสด บริเวณหัวไหล่จะมีแถบสีแดง
แต้มอยู่ทั้งสองข้าง นกเพศผู้และเมียสามารถแยกแยะได้เมื่อนกโตเต็มที่ กล่าวคือในเพศผู้จะ
ปรากฏมีแถบขนสีดำและสีชมพูรอบคอที่เรียกกันว่า " Ring Neck" ซึ่งในนกเพศเมียไม่มีเส้นที่
ปรากฏดังกล่าวและเพศเมียจะมีขนาดเล็กกว่า เพศผู้เล็กน้อย ใต้หางสีเหลืองคล้ำใบหน้าและ
ลำคอสีปนเหลือง







ถิ่นอาศัยและอาหาร
          นกแก้วโม่งชอบอยู่อาศัยบริเวณ ป่าดิบแล้ง ป่าเต็งรัง ป่ารุ่น มีถิ่นกำเนิดแพร่กระจาย
ทั่วไปในแถบทวีปเอเชีย ตั้งแต่ฝั่งตะวันตกและตะวันออกของอัฟกานิสถาน,ไล่ลงไปยังอินเดีย,
อินโดจีน เช่น พม่า หรือ ประเทศไทยฝั่งตะวันตก รวมทั้งยังพบได้ตามหมู่เกาะในทะเลอันดามัน
อาหารของแก้วโม่ง ในธรรมชาติ ประกอบด้วย เมล็ดพืชต่าง ๆ ผลไม้หลากชนิด ใบไม้
อ่อน ฯลฯ การให้อาหารในกรงเลี้ยงสามารถให้อาหารหลักเป็นผลไม้ตามฤดูกาลฤดูกาล
อาทิ ฝรั่ง แอปเปิ้ล มะละกอ กล้วยน้ำหว้า แก้วมังกร ชมพู่เมล็ดพืช อาทิ เมล็ด
ทานตะวัน ฮวยมั๊ว ถั่วลิสงต้ม ถั่วลิสงอบแห้งหรือจะเป็นอาหารผสมเช่นเดียวกับเลิฟเบิร์ดก็ได้





พฤติกรรม , การสืบพันธุ์
          นกแก้วโม่งจัดเป็นนกแก้วที่มีเสียงร้องค่อนข้างดัง หากินอยู่รวมกันเป็นฝูงเล็ก ๆ นอน
บนต้นไม้เป็นกลุ่มใหญ่ ส่งเสียงร้องกันระงม สามารถพูดได้เมื่อนำมาเลี้ยงให้เชื่อง เวลาบินจะ
บินเป็นฝูงเล็กๆ ๘ – ๑o ตัว ชอบเกาะตามยอดไม้และมักเลือกที่จะทำรังตามโพรงไม้ใหญ่ ๆ
โดยใช้วิธีแทะหรือขุดโพรงไม้จำพวกไม้เนื้ออ่อน หรืออาจเลือกใช้โพรงไม้ที่เก่าต่าง ๆ โดยใน
ฤดูผสมพันธุ์ซึ่งจะแตกต่างกันตามลักษณะสายพันธุ์ย่อย อันเกี่ยวเนื่องกับอุณหภูมิและสภาพทาง
ภูมิศาสตร์ แต่โดยเฉลี่ยจะเริ่มจากเดือนพฤศจิกายน ไปจนถึงราวปลายเมษายน โดยในระหว่าง
ฤดูผสมนี้เพศเมียจะค่อนข้างแสดงอาการดุ และก้าวร้าวมากขึ้น นก แก้วโม่งวางไข่ปีละครั้ง
ครั้งละ ๒ – ๔ ฟอง 





เอกสารอ้างอิง
th.wikipedia.org/wiki/นกแก้วโม่ง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น